การสเตกกิ้งคืออะไร

การสเตกกิ้งเป็นแนวทางปฏิบัติในการมีส่วนร่วมและสนับสนุนการทำงานของเครือข่ายโดยการล็อกหรือเดลิเกตโทเคนจำนวนหนึ่งในเครือข่ายบล็อกเชนที่ใช้ Proof of Stake (PoS) เพื่อรับรางวัลตามสัดส่วนของสินทรัพย์ที่ทำการสเตกกิ้ง

จากมุมมองของการกำกับดูแลบล็อกเชนแบบ PoS การสเตกกิ้งเป็นพฤติกรรมรูปแบบหนึ่งในการใช้สิทธิ์และสร้างประโยชน์ที่เกี่ยวข้องของโทเคนที่ถืออยู่ภายใต้กลไก POS โดยในบล็อกเชนที่ใช้กลไกฉันทามติ PoS โหนดต่าง ๆ จะได้รับสิทธิ์ในการผูกข้อมูลธุรกรรม รักษาเครือข่าย และมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลชุมชนโดยการเดลิเกตโทเคนจำนวนหนึ่งให้กับเครือข่าย โหนดจะได้รับโทเคนเป็นรางวัลตามสัดส่วนในช่วงระยะเวลาที่ทำการเดลิเกต เช่นเดียวกับที่โหนด Bitcoin (นักขุด) ได้รับรางวัล Bitcoin ผ่านการขุด การสเตกกิ้งมักเรียกว่า "การขุด" บนพื้นฐานของ PoS 

จากมุมมองของการลงทุน การสเตกกิ้งคริปโทเปรียบได้กับการฝากเงินในธนาคาร อธิบายง่าย ๆ ก็คือการล็อกสินทรัพย์เพื่อแลกกับการรับผลตอบแทนหรือดอกเบี้ย กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การสเตกกิ้งในโลกของบล็อกเชนนั้นเป็นเพียงการมอบสินทรัพย์สินคริปโทให้กับบล็อกเชนเพื่อรับรางวัล และหากเทียบกับการฝากเงินในธนาคาร การสเตกกิ้งมักให้ผลตอบแทนสูงกว่า

  

ปัจจัยหลักสี่ประการที่ส่งผลต่อผลตอบแทนจากการสเตกกิ้ง 

ผลตอบแทนของการสเตกกิ้ง = อัตราเงินเฟ้อ/อัตราส่วนการสเตกกิ้ง อัตราส่วนการสเตกกิ้งหมายถึงสัดส่วนของสินทรัพย์คริปโทที่สเตกกิ้งและไม่สามารถขายได้ โดยรวมแล้ว มีปัจจัยสี่ประการที่ส่งผลต่อผลตอบแทนจากการสเตกกิ้ง รายละเอียดดังต่อไปนี้: 

1.     สินทรัพย์สเตกกิ้งทั้งหมด: ในทางทฤษฎี ยิ่งจำนวนทรัพย์สินที่เดลิเกตมีจำนวนมากเท่าไร ผลตอบแทนก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

2.     จำนวนโทเคนทั้งหมดที่ล็อกไว้ในเครือข่ายบล็อกเชน: เนื่องจากผลตอบแทนของการสเตกกิ้งนั้นถูกกำหนดไว้กับอัตราส่วนการสเตกกิ้งของเครือข่าย หากอัตราเงินเฟ้อของโทเคนคงที่ ยิ่งจำนวนโทเคนที่ถูกล็อกในเครือข่ายมีมากขึ้น (อัตราส่วนการสเตกกิ้งสูงขึ้น) รายได้จากการสเตกกิ้งก็จะยิ่งต่ำลง

3.     ปริมาณการหมุนเวียนของโทเคนและอัตราเงินเฟ้อ: ปัจจัยที่ถูกกำหนดโดยหลักเศรษฐศาสตร์ของโทเคน

4.     ระยะเวลาการสเตกกิ้งสำหรับผู้ใช้: โดยทั่วไป ยิ่งระยะเวลาการสเตกกิ้งนานเท่าใด ผลตอบแทนก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น